M - C O M M E R C E
A b o u t   M- C o m m e r c e
เมื่อกล่าวถึงเครื่องมือที่ใช้ในการทำธุรกิจในปัจจุบัน นับว่ามีการพัฒนาก้าวไกล
ไปอย่างมากโดยเฉพาะเครื่องมือที่เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างเช่น คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ ในที่นี้จะกล่าวถึง เทคโนโลยีไร้สาย M-Commerce (Mobile Commerce) ซึ่งก็คือ การดำเนินธุรกรรมเกี่ยวกับการซื้อ และการขายสินค้า และการบริการ ผ่านอุปกรณ์มือถือแบบไร้สาย เช่น โทรศัพท์มือถือเซลลูลาร์ และคอมพิวเตอร์ดิจิตอลช่วยงานส่วนบุคคล (PDA) สามารถส่งข้อมูลได้ทั้งภาพ ข้อความ เสียงเพลง เสียงพูดเสียง ดนตรี (Audio) และภาพวิดีโอ
  • ความหมายและจุดเริ่มต้นของ M-commerce
  • คุณสมบัติและจุดเด่นของ M-commerce
  • ปัจจัยและสาเหตุที่ทำให้ M-commerceประสบผลสำเร็จและได้รับความนิยม
  • อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบและปัญหาสำคัญ
  • องค์ประกอบและหลักการทำงานของ M-commerce
  • ระบบรักษาความปลอดภัยและประโยชน์ของ M-commerce
  • เทคโนโลยีและรูปแบบที่การใช้งานที่เกี่ยวข้องกับ M-commerce
  • สถิตติการใช้งานและสถานการณ์ของ M-commerce
  • ข้อดีและข้อเสียพร้อมบทสรุปที่น่าสนใจ

  • วา มา M- c o m m e r c e
    M-Commerce คือ การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมหรือการเงิน
    โดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือการค้าขายตามระบบแนวความคิดของระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce ที่ใช้อุปกรณ์พกพาไร้สายเป็นเครื่องมือในการสั่งซื้อ และขายสินค้า ต่างๆ ทั้งการสั่งซื้อสินค้าที่เป็นรูปธรรม หรือนามธรรม รวมทั้งการรับ-ส่งอีเมล์ สิ่งที่น่าสนใจ และเป็นจุดที่น่าศึกษา คือ โทรศัพท์เคลื่อนสามารถพกพาไปได้ทุกที่ไม่จำกัด ทำให้ตลาดการค้าออนไลน์ หรือการทำธุรกรรมเชิงพาณิชย์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นตลาดที่น่ากลัวที่สุด เพราะสะดวกสบาย ไม่มีข้อจำกัดในการจับจ่าย และคนในสังคมไทยมีความคุ้นเคยกับการ ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่แล้ว โดย M-Commerce เป็นการแตกแขนงของเทคโนโลยีที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการขยายตัวของธุรกิจพาณิชย์อิเล็คทรอนิคส์ โดย M-Commerce จะช่วยเร่งอัตราการเติบโตให้กับการดำเนินธุรกรรมผ่านเครือข่ายอิเล็คทรอนิคส์ได้เร็วกว่าการใช้เทคโนโลยี E-Commerce ขอบเขตของ M-Commerce ครอบคลุมทั้งการดำเนินธุรกรรมระหว่างผู้ดำเนินธุรกิจ กับผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Business to Customer หรือ B2C) และระหว่างผู้ดำเนินธุรกิจด้วยกันเอง (Business to Business หรือ B2B)
    กลับสู่ด้านบน

    จุ ริ่ ต้ M- c o m m e r c e
    M-Commerce ได้ถูกคิดค้นประดิษฐ์ขึ้นมาหลังปี ค.ศ. 1990ในช่วงที่ .Com
    (Dot-Com)กำลังได้รับความนิยมอย่างสูง ถ้าจะว่าไปแล้ว M-Commerce ก็เป็นส่วนหนึ่งของ E-Commerce ด้วยลักษณะแนวคิดนี้ ทำให้ M-Commerce มีประโยชน์อย่างสูงในการนำเอาไปประยุกต์ใช้กับระบบโทรศัพท์มือถือ ซึ่งมีการใช้ Internet Broadband ซึ่งถูกจัดให้บริการโดยเครือข่ายยุค 2.5G และ 3G Cell Phone อันเป็นเหตุผลหลักทำให้มีการเสียค่าธรรมเนียมในการออกใบอนุญาตให้กับบริษัทของประเทศที่ใช้ระบบการสื่อสารโทรคมนาคมผ่านโทรศัพท์ไร้สาย อย่างเช่น ยุโรป และอเมริกา ซึ่งในปีหนึ่งๆ มีการเสียค่าธรรมเนียมจำนวนหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ และต่อมาจึงมีการออกใบอนุญาตในลักษณะเครือข่ายของยุค 3G ในปี ค.ศ. 2000 และ 2001 สำหรับ M-Commerce ในปัจจุบันมีการใช้งานเป็นหลักอยู่ที่ การขายเสียงกริ่งโทรศัพท์ (Mobile Phone Ring-Tones และ เกมส์(Games) หรือแม้กระทั่งการบริการของ 3G/UMTS (Third-Generation/Universal Mobile Telecommunication System) ซึ่งสามารถใช้ในการชำระค่าบริการตามพื้นที่ต่างๆ รวมทั้งการบริการรับส่งสารสนเทศ เช่น การทายผลการแข่งขันฟุตบอลผ่าน SMS เป็นต้น การทำธุรกิจผ่านอุปกรณ์โทรศัพท์ หรือคอมพิวเตอร์มือถือกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศญี่ปุ่น เกาหลี ยุโรป และอเมริกา หลายบริษัทได้พัฒนาระบบนี้มาใช้ จากรายงานประจำปีทำให้ทราบว่า อัตราการชำระเงินผ่านอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่เรียกว่า คอมพิวเตอร์วางตั้งบนตัก (Laptop Computer) คาดว่าเติบโตขึ้นถึงประมาณ 25 % มีอัตราเพิ่มขึ้นกว่าปีก่อนถึง 16 % อุปกรณ์มือถือในปัจจุบันมีประสิทธิภาพมาก ในธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไม่อาจสามารถจะหลีกเลี่ยงใช้มันได้ เพราะปัจจุบันเด็กน้อยตัวเล็กๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกาไม่น้อยกว่า 1 % ที่ใช้ M-Commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ B2C อย่างไรก็ตามยังมีการโฆษณาผ่านโทรศัพท์เซลลูลาร์ และการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงแบบไร้สายฟรี (Wi-Fi hotspots) ในสหรัฐอเมริกาเจริญเติบโตเร็วมาก เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาออนไลน์ คาดว่ามีรายได้ประมาณ $170 ล้านดอลลาร์ในปี 2005 ที่ผ่านมา เติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 26 % (Kenneth C. Lau don : 2007 : 180) จากรายงานผลการวิจัยของ Jupiter Research ทำให้ทราบว่า ธุรกิจ M-Commerce มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในประเทศแถบเอเชีย
    กลับสู่ด้านบน

    คุ บั ติ M- c o m m e rc e
    (1) Mobility คือ ผู้ใช้งานสามารถนำติดตัวไปได้และเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง
    (2) Broad reach ability คือผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงบริการที่หลากหลายได้ทุกที่ ทุกเวลา
    (3) Ubiquity คือผู้ใช้งานมีความง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ทุกทีทุกเวลา
    (4) Convenience คือผู้ใช้งานมีความสะดวกในการเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์และระบบเครือข่ายอื่นๆได้ง่าย
    (5) Localization of products and services คือผู้ใช้งานสามารถได้รับบริการแบบเฉพาะพื้นที่และรู้ตำแหน่งของตนเองในขณะที่ใช้งาน
    กลับสู่ด้านบน

    จุ ด่ M- c o m m e rc e
    1. ความแพร่หลายของเครื่องลูกข่าย หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่หาซื้อได้ง่าย และในปัจจุบันมีความแพร่หลายมากขึ้น ด้วยผลจากการแข่งขันระหว่างผู้ให้บริการเครือข่าย รวมถึงแรงผลักดันของโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพร้อมใช้ ทำให้การซื้อหาโทรศัพท์เคลื่อนที่ทำได้ง่าย
    2. ความสามารถในการติดตามตัวได้เสมอ ตราบใดที่ผู้ใช้บริการเปิดเครื่อง และอยู่ในบริเวณที่มีสัญญาณ การติดต่อสื่อสารจากเครือข่ายไปสู่เครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่จะทำได้เสมอทั้งนี้ผู้ใช้บริการมีสิทธิ์ที่จะระงับการติดตามตัวได้ในเวลาที่ต้องการ เช่นระงับการโทรเข้า ให้โทรศัพท์เคลื่อนที่ทำได้เฉพาะการโทรออกเท่านั้น
    3.กระบวนการรักษาความปลอดภัยโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบันมี SIM การ์ด ซึ่งใช้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญของผู้ใช้บริการ พร้อมกับการเข้ารหัสข้อมูลไว้ หากต้องมีการรับ-ส่งข้อมูลกับระบบเครือข่าย ตัวเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่จะมีความสามารถในการเข้ารหัสข้อมูลต่างๆที่มีการใช้งานด้วยรหัสที่ไม่สามารถถอดออกโดยบุคคลที่ 3ได้ ตัวอย่างเช่น เครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่สนับสนุนเทคโนโลยี WAP เป็นต้น
    4. ความสะดวกในการใช้งาน เนื่องจากการออกแบบโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นใหม่ ๆ ให้มีความสวยงาม และใช้งานง่ายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของหน้าจอ การแสดงผล และการป้อนข้อมูล รวมทั้งการเพิ่มหน่วยความจำภายในตัวเครื่องให้มากขึ้น ทำให้สามารถใช้บันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น สมุดโทรศัพท์ รายการนัดหมาย หรือรหัสลับส่วนตัวต่าง ๆ ได้มากขึ้น
    กลับสู่ด้านบน

    ปั จั ที่ ทำ ห้ ระ วา สำ ร็
    1.การใช้ประโยชน์จากข้อมูลตำแหน่งท้องถิ่น เทคโนโลยี Location Based Service ซึ่งเป็นความก้าวหน้าอีกขั้นหนึ่งของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ จะทำให้เครือข่ายทราบได้ว่าผู้ใช้บริการแต่ละรายอยู่ ณ ที่แห่งใดได้ตลอดเวลา ทำให้สามารถสร้างบริการ M-Commerce ที่สัมพันธ์กับตำแหน่งที่อยู่ของผู้ใช้บริการได้อย่างอัตโนมัติ
    2. สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่าย เพื่อติดต่อสื่อสารได้ในทันที ด้วยความพร้อมของเทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบใหม่ ๆ ในปัจจุบัน เช่น GPRS (Generic Packet Radio Service) ในเครือข่าย GSM ร่วมกับเทคโนโลยี WAP ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อกับแหล่งให้บริการ M-Commerce หรือบริการอินเตอร์เน็ตต่าง ๆ ได้ทันทีที่ต้องการ โดยไม่ต้องเสียเวลารอการเชื่อมต่อวงจรให้เรียบร้อยก่อนที่จะทำการสื่อสารได้ เหมือนดังในกรณีของการพึ่งพาเทคโนโลยี WAP บนเครือข่าย GSM หรือการใช้คอมพิวเตอร์ทำธุรกรรมแบบ E-Commerce ซึ่งความสามารถแบบใหม่ของโทรศัพท์เคลื่อนที่นี้เอง ที่น่าจะตรงกับพฤติกรรมการใช้งานของมนุษย์ที่สุด และน่าจะเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้เกิดการเจริญเติบโตของกิจกรรม M-Commerce
    3.การจัดการฐานข้อมูลส่วนบุคคล แม้ในปัจจุบันเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่บางรุ่นจะมีความสามารถในการบันทึกข้อมูลบางอย่างของผู้ใช้บริการบ้างแล้ว แต่โทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นใหม่ ๆ ที่มีหน่วยความจำมาก และมีการใช้เทคโนโลยีการพัฒนาโปรแกรมพิเศษ เช่น การใช้โปรแกรมแบบ Java2ME น่าจะเป็นจุดหักเหที่สำคัญสำหรับการเติบโตของกิจกรรม M-Commerce ตัวอย่างของข้อมูลที่เก็บไว้ในฐานข้อมูลส่วนบุคคลก็อาจจะเป็น ความชอบส่วนตัว, เลขที่บัตรประจำตัวที่สำคัญต่าง ๆ, กีฬาที่ชอบ ฯลฯ ซึ่งหากผู้ใช้บริการอนุญาตให้มีการเปิดเผยกับแหล่งให้บริการข้อมูล M-Commerce ก็จะทำให้เกิดบริการรูปแบบใหม่ ๆ ที่น่าสนใจขึ้นอีกมากมาย
    กลับสู่ด้านบน

    สา ตุ ที่ ทำ ห้ M- c o m m e r c e ด้ รั วา นิ
    1.ทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ ประหยัดเงิน และเป็นช่องทางโอกาสที่ดีในการทำธุรกิจ
    2.สามารถใช้ M-Commerce ได้ทุกที่ทุกเวลา และอุปกรณ์ที่ใช้ก็มีน้ำหนักเบาด้วย
    3.ระบบ M-Commerce ช่วยนำผู้ซื้อและผู้ขายให้มาพบกันด้วยวิธีที่ง่ายสะดวก
    กลับสู่ด้านบน

    อุ สา ที่ ด้ รั ระ
    1.การเงิน รวมถึงธนาคารเคลื่อนที่และการซื้อขายหลักทรัพย์
    2.โทรคมนาคม จากการเปลี่ยนการให้บริการ
    3.บริการและการค้าปลีก
    4.บริการสารสนเทศ เนื่องจากสามารถรับข่าวสารต่าง ๆ ที่อุปกรณ์เคลื่อนที่ได้
    กลับสู่ด้านบน

    ปั หา สำ คั M- c o m m e rc e
    1.ระบบไร้สายใช้อัตราการรับส่งข้อมูลได้ต่ำ
    2.ค่าบริการค่อนข้างแพง
    3.โมเด็มรับส่งแบบคลื่นวิทยุ ใช้กำลังงานไฟฟ้าสูง
    4.ระบบยูสเซอร์อินเตอร์เฟสที่ใช้กับระบบติดตามตัวยังไม่ดี ไม่เหมาะกับการใช้งานขณะเคลื่อนที่
    กลับสู่ด้านบน

    ค์ ระ M- c c o m m e r c e
    1. ไคลเอนต์ (Client)
    2. เกทเวย์ (Gateway)
    3. เซิร์ฟเวอร์ (Server)
    กลับสู่ด้านบน

    ลั กา ทำ งา M- C o m m e r c e
    ในเรื่องของเทคนิคที่ทำให้บริการนี้เกิดขึ้นมาได้ ในบ้านของเราก็ใช้เทคนิคของการ
    สื่อสารบนอุปกรณ์มือถือที่เคยได้ยินกันบ่อยๆ ได้แก่ SMS หรือการบริการรับข้อมูลแบบสั้น , STK(SIM Tool Kit) และ WAP (Wireless Application Protocol) ระบบการทำงานแบบ STK เริ่ม จากเครื่องโทรศัพท์มือถือจะใช้แผ่น SIM ที่เรียกว่า SIM Toolkit ซึ่งเก็บข้อมูลของผู้ใช้เครื่องและบรรจุโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาโดยเฉพาะ เมื่อเรากดปุ่มข้อมูลที่เครื่องโทรศัพท์มือถือเข้าสู่ศูนย์บริการรับส่งข้อมูล จากนั้นข้อมูลจะถูกส่งต่อไปยัง M-Commerce Server ของผู้ให้บริการ ซึ่ง Server นั้นจะมีการเชื่อมต่อกับระบบของธนาคารโดยอาศัยเครือข่ายที่ผู้ให้บริการและธนาคารทำการเชื่อมต่อกันโดยตรง ก่อนที่ข้อมูลจะเข้าถึง Server ของธนาคารได้ก็ต้องผ่านระบบรักษาความปลอดภัยของธนาคารด้วย ซึ่งอาศัย Firewalls ,ระบบมาตรฐาน SSL (Secure Socket Layer) และการเข้ารหัสแบบ Triple DES ซึ่งเป็นระบบความปลอดภัยแบบ end-to-end ส่วนการทำงานด้วยระบบ WAP นั้นข้อมูลจาก WAP phone จะถูกส่งผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ มายัง WAP Gateway โดยจะใช้ระบบความปลอดภัยของ WAP ที่เรียกว่า WTLS (Wireless Transport Layer Security) เมื่อข้อมูลถูกส่งจาก WAP Gateway ไปยัง Server ของธนาคาร ก็จะใช้ระบบความปลอดภัยมาตรฐานแบบ SSL อุปกรณ์ WAP Gateway อาจตั้งอยู่ที่ผู้ให้บริการหรืออยู่ที่ธนาคารก็ได้ ส่วนใหญ่ผู้ให้บริการกับธนาคารจะมีการเชื่อมโยงเครือข่ายถึงกันโดยตรง เช่น อาจใช้คู่สายวงจรเช่า (Leased Line) เชื่อมต่อกัน และใช้ IP Network ในการติดต่อกัน การให้บริการด้วยระบบ STK กับระบบ WAP ยังมีข้อแตกต่างกันอีกบางอย่าง เช่น การใช้บริการในระบบ STK จะไม่เสียค่า air-line เพิ่ม ไม่มีการจองช่องทางสื่อสารข้อมูลค้างไว้ระบบ STK มี WAP Browser อยู่ใน SIM ส่วนระบบ WAP มี Browser อยู่ในตัวอุปกรณ์ ระบบ STK มีข้อจำกัดของความยาวในการส่งข้อมูลเพียง 140 characters/1SMS ,8 bit ส่วน WAP มีข้อจำกัดเรื่องความเร็วในการส่งข้อมูลซึ่งขณะนี้ส่งได้ 9.6 kbpsและการพัฒนาโปรแกรมระบบ STK รองรับWML Tags ได้น้อยกว่าระบบ WAP จึงทำให้โปรแกรมของ WAP มี user Interface ได้มากกว่า เป็นต้น
    กลับสู่ด้านบน

    ระ รั ษา วา ภั
    ในการบริการ mBanking จาก mobile LIFE ในระบบจีเอสเอ็ม 2 วัตต์
    จะใช้เทคโนโลยีเครือข่าย GSM (Global Service for Mobile communications) เป็นการทำงานระบบ Menu Driven ด้วยเทคโนโลยี SIM Toolkit (STK) ในการใช้บริการของทางธนาคารเพื่อทำการชำระเงินค่าสินค้า ก่อนที่ข้อมูลจะเข้าถึง Server ของธนาคารได้ก็ต้องผ่านระบบรักษาความปลอดภัยของธนาคารด้วย ซึ่งอาศัย Firewalls, ระบบมาตรฐาน SSL (Secure Socket Layer) และ การเข้ารหัสแบบ Triple DES ซึ่งเป็นระบบความปลอดภัยแบบ end-to-end
    กลับสู่ด้านบน

    ยี ที่ กี่ ข้
    1. โครงข่ายโทรคมนาคมไร้สาย เป็นโครงข่ายดิจิตอลที่มีการส่งผ่านข้อมูลในลักษณะ IP (Internet Pocket) โดยแบ่งข้อมูลออกเป็นแพ๊ค และทำการส่งข้อมูลเป็นช่วงๆ ทำให้สามารถส่งข้อมูลจากหลายแหล่ง และหลายๆข้อมูลได้พร้อมกันในเวลาเดียว เช่น รับภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหวได้พร้อมๆ กัน อุปกรณ์ที่จะนำมาใช้ในการสื่อสารลักษณะนี้จะต้องมีประสิทธิภาพสูงมากและมีขนาดเล็กพอที่จะสามารถพกพาไปยังที่ต่างๆ ได้ ตัวอย่างเช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือมือถือ, Mininotebook, Palm, PDA ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตลาดอุปกรณ์สื่อสารไร้สายมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีการแข่งขันกันสูง
    2. อินเตอร์เน็ต เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อรูปแบบการดำเนินชีวิต การศึกษา การทำธุรกิจ การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า และอื่นๆ เนื่องจากอินเตอร์เน็ตช่วยให้การสื่อสารระหว่างกันเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น การติดต่อกับผู้คนในอีกซีกโลกเป็นไปอย่างง่ายดาย สะดวก และรวดเร็ว สามารถพูดคุย ประชุม ส่งไปรษณีย์ ผ่านทางโลก World Wide Web ที่มีข้อมูลต่างๆ มากมาย และประเด็นที่สำคัญ คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้อินเตอร์เน็ตมีราคาถูกมากเมื่อเทียบกับคุณภาพ และศักยภาพที่ได้รับ
    3.WAP ( Wireless Application Protocol) เป็นเทคโนโลยีทางด้านภาษาที่ใช้ในเขียนโปรแกรมเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านทางเว็บไซด์ ซึ่งใช้งานผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากการเปลี่ยนอุปกรณ์รับปลายทางจากคอมพิวเตอร์ซึ่งใช้ภาษา HTML ( Hypertext Markup Language) ในการเขียน Web ซึ่งมีขนาดใหญ่ มาเป็นอุปกรณ์มือถือ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่ามาก จึงมีการพัฒนาโปรแกรมให้สอดคล้องกับอุปกรณ์ ภาษาที่ใช้ได้แก่ WAP เป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมผ่านทางมือถือโดยเฉพาะ ดังจะเห็นได้จากการชำระค่าสินค้า หรือบริการผ่านทางโทรศัพท์มือถืออย่าง Mpay ของ AIS หรือการเรียกดูข้อมูลข่าวสารแบบเรียลไทม์ การโอนเงิน จองตั๋วภาพยนตร์ ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือมีจำนวนมากกว่าผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และการใช้งานของโทรศัพท์มือถือก็สะดวกกว่า ดังนั้นศักยภาพของตลาดมือถือจะยังคงเติบโตต่อไปอย่างรวดเร็ว
    กลับสู่ด้านบน

    รู กา ช้ งา
    1. Online stock trading การซื้อขายหุ้น Online การซื้อขายหุ้นแบบ online ได้ทำกันมาแล้วทั่วโลกอย่างเช่น I-MODE (ชื่อระบบ) ในประเทศญี่ปุ่นจนถึง E*Trade ในหลายประเทศ Dagens Industries ของสวีเดนอนุญาตให้สมาชิกซื้อขายหุ้นที่อยู่ในตลาดหุ้น Stockholm และรับข้อมูลทางการเงินโดยใช้ PDA (Personal Digital Assistant เช่นปาล์ม) การซื้อขายหุ้นที่ไหนก็ได้เป็นสิ่งสำคัญต่อทั้งนักลงทุนและนายหน้า
    2. On-line banking ธนาคาร online เติบโตอย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่นธนาคาร Swedish Portal ให้ลูกค้าจ่ายเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ และ MaritaNordabanken ก็ให้ทำรายการได้หลาหลาย Citibank ก็ให้บริการธนาคารผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศสิงคโปร์ ฮ่องกงและอีกหลายประเทศ
    3. Micropayments ผู้บริโภคในประเทศญี่ปุ่นสามารถใช้โทรศัพท์มือถือซื้อของจากตู้ขายของอัตโนมัติ ในประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวีย ผู้บริโภคสามารถจ่ายค่าที่จอดรถ ค่าล้างรถ ค่าน้ำมันหรือแม้กระทั่งน้ำอัดลมที่ตู้ขายอัตโนมัติ
    4. Online-line gambling การพนัน Online Eurobet ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ในประเทศสหราชอาณาจักร มีบริการพนัน online ที่ฮ่องกงคุณก็สามารถแทงม้าแข่งจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้
    5. Orderling and Services การสั่งซื้อและบริการ Barnes and Noble Inc มีบริการให้ลูกค้าฟังเพลงที่ตัวเองเลือกโดยการ download ลงไปใน PDA หรือโทรศัพท์มือถือ
    6. On-line auctions การประมูล online QXL.com บริษัทที่ทำธุรกิจประมูลแบบ online ในสหราชอาณาจักรให้ลูกค้าเปิดบัญชีที่ Web และประมูลของผ่านโทรศัพท์มือถือ E-Bay ซึ่งทำธุรกิจประมูลแบบ online ก็สามารถใช้บริการผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้เช่นกัน
    7. Messaging system ระบบการส่งข้อความ E-mail ในระบบ Internet ของโทรศัพท์มือถือหรือ SMS (Short Messaging) ในปี 2543 มีความเป็นไปได้ที่จะส่งหรือรับข้อความยาว 160 ตัวอักษร ในเดือนสิงหาคมปีเดียวกันทั่วโลกได้มีการส่งข้อความประมาณ 10,000 ล้านข้อความไปมา และเพิ่มเท่าตัวต้นปี 2544 SMS สามารถใช้โฆษณา หากนักทำโฆษณารู้อะไรบ้างอย่างของผู้ใช้ ข้อความส่วนตัวก็สามารถส่งไปให้ผู้ใช้ที่ใดก็ได้
    8. B2B applications การนำมาใช้ใน B2B M-commerce ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเก็บและประเมินข้อมูลสำหรับการตัดสินใจได้ดีและรวดเร็วขึ้น พนักงานที่ทำงานอยู่นอกสถานที่สามารถตรวจสอบสินค้าคงเหลือหรือส่งคำสั่ง Internet จึงกลายเป็นที่เก็บข้อมูลขององค์กรเสมือนเป็นคลังเก็บสินค้าและบริการที่จับต้องไม่ได้
    9. การทำธุรกรรมผ่านอิเล็กทรอนิกส์ผ่านโทรศัพท์มือถือส่วนมากเป็นการซื้อขายสินค้า การชำระค่าบริการ หรือว่าการทำธุรกรรมผ่านธนาคาร ธุรกิจข่าวสารที่รายงานข่าวทางโทรศัพท์มือถือ ธุรกิจบันเทิง การจองตั๋วหนัง การโหวตคะแนนให้กับศิลปินที่ชื่นชอบ ธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรม การจองตั๋วที่พักโรงแรมและ Resort การดูข้อมูลท่องเที่ยวระหว่างเดินทาง หรือการค้าหาร้านอาหารอร่อยในที่ต่าง ๆ ธุรกิจที่ได้กล่าวมานั้นน่าจะเป็นประโยชน์จากการทำ M-Commerce มากที่สุด เนื่องจากคนไทยมีความนิยมใช้โทรศัพท์มือถือติดอันดับโลกทีเดียว
    กลับสู่ด้านบน

    ถิ ติ กา ช้ งา
    สำหรับสถิติปี 2552 ที่ผ่านมา ระบุว่าการซื้อขายสินค้าบนอีเบย์ผ่านโทรศัพท์มือถือ
    มีมูลค่ามากกว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 16,750 ล้านบาท) โดยมีการเติบโตอย่างโดดเด่นและแข็งแกร่งในช่วงเทศกาลส่งท้ายปี 2552 และต้อนรับปีใหม่ 2553 นี้ ปัจจุบัน ผู้ใช้โทรศัพท์ไอโฟนที่เข้าเว็บไซต์อีเบย์บนโทรศัพท์มือถือของตนมีจำนวนทั้งสิ้น 6 ล้านคน ขณะที่การเข้าเยี่ยมชมแพลทฟอร์มอีเบย์บนโทรศัพท์มือถือผ่านแอพพลิเคชั่นการสื่อสารไร้สายของนักช้อปมีปริมาณสูงถึงวันละ 750,000 ครั้ง มิสลอรี่ นอร์ริงตัน ประธาน อีเบย์ มาร์เกตเพลซ กล่าวว่า “เทคโนโลยีการสื่อสารเคลื่อนที่อันล้ำยุคได้พลิกรูปแบบการช้อปปิ้งในเทศกาลส่งความสุขนี้ การมีตลาดออนไลน์อีเบย์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ไอโฟนส่งผลให้ผู้บริโภคสามารถเพลิดเพลินกับการช้อปปิ้งได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยสามารถเลือกซื้อของขวัญและบริการต่างๆ เพื่อร่วมฉลองเทศกาลแห่งความสุขได้อย่างอิสระไร้ขีดจำกัด จากรายงานของไอดีซี (IDC) ในปี 2552 ที่ผ่านมา คาดการณ์ว่า ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือจะมีจำนวนมากกว่า 1 พันล้านราย หรือเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในปี 2556


    กลับสู่ด้านบน

    ถา กา ณ์ ปั จุ บั
    การบริการ m-Commerce เป็นบริการที่บริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือ จับมือกับ
    ร้านค้า และธนาคาร ร่วมกันให้บริการสั่งซื้อของผ่านโทรศัพท์มือถือคล้ายกับการให้บริการ e-Commerce ในตอนนี้ได้แก่ บริการที่ AIS ร่วมมือกับธนาคารกสิกรไทย และโรงภาพยนตร์ของ Major Cineplex ให้บริการสั่งซื้อตั๋วภาพยนตร์ทางมือถือ GSM ได้ ซึ่งลูกค้าสามารถจ่ายเงินได้ด้วยบัตรเครดิตของธนาคารกสิกรไทย บัตร VISA และ Master Card ของทุกธนาคาร โดยผู้ซื้อไม่ต้องมีการแจ้งของใช้บริการกับธนาคารล่วงหน้า หรือจะเลือกจ่ายค่าตั๋วพร้อมกับค่าใช้โทรศัพท์มือถือก็ได้ ระบบนี้ก็ใช้เทคโนโลยีของ SIM Toolkit มีการทำรายการโดยให้เลือกจากเมนูเป็นหลัก โดยลักษณะของบริการจะคล้ายกับในบริการ Mobile Banking ผ่านอินเทอร์เน็ต ในระบบดังกล่าวผู้ให้บริการจะมีวงจรที่เชื่อมต่อกับธนาคารโดยตรงและมีการเข้ารหัสข้อมูลเช่นกัน เพื่อให้การทำธุรกรรมทางการเงินเป็นไปอย่างปลอดภัยและสร้างความมั่นใจให้ลูกค้า ส่วนกระบวนการเรียกเก็บเงิน (Settlement) ระหว่างโรงภาพยนตร์และธนาคารก็จะเป็นไปตามระบบปกติการที่ธนาคารให้บริการรับชำระค่าจองตั๋วนี้ ธนาคารจะได้รับค่าธรรมเนียมจากโรงภาพยนตร์ 3% ในขณะที่ลูกค้าจะเสียค่าโทรศัพท์ในการโทรออกครั้งละ 6 บาท แต่ลูกค้าก็จะได้รับความสะดวกไม่ต้องเสียเวลาเข้าคิวซื้อตั๋วเอง Mobile Internet เป็นระบบที่ทำให้ผู้ใช้เชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ตได้จากโทรศัพท์มือถือทุกที่ทุกเวลา โดยไม่มีค่าบริการรายเดือนและไม่ต้องมี Internet Account พิเศษในการเชื่อมต่อสามารถค้นหาข้อมูลข่าวสารจากทั้งผู้ให้บริการทั่วโลกในอัตราค่าบริการเดียวกัน ใช้บริการต่อเนื่องจาก Internet Site ทั่วไปได้อย่างไม่มีรอยต่อ เช่น การอ่าน e-mail การใช้บริการ Personal Information Management การเล่นเกมส์ และอื่นๆ อีกมาก รวมถึงการทำธุรกรรมทางการเงิน เช่น การซื้อสินค้าขายสินค้าและบริการ ได้อย่างสะดวกปลอดภัย นอกจากนั้นองค์กรและบริษัทต่างๆ สามารถให้บริการข้อมูลภายในองค์กรในระบบ Intranet ผ่านทางอินเทอร์เน็ตบนมือถือและเชื่อมต่อกับระบบปัจจุบันได้อีกด้วย ตัวอย่างบริการ Mobile Internet ได้แก่ บริการ Djuice ของ DTAC และบริการ mobile Life INTRANET ใน Pocket 4u ของ AIS เป็นต้น สำหรับตัวอย่างบริการ Mobile Internet สำหรับองค์กร ได้แก่ บริการ DTAC Corporate Mail สามารถให้พนักงานในองค์กรต่างๆ สามารถเข้าดู และเช็ค e-mail ที่ใช้ในบริษัทได้อย่างสะดวกสบายบนโทรศัพท์มือถือที่รองรับการใช้ WAP ไม่ว่าบริษัทนั้นๆ จะใช้เมล์เซิร์ฟเวอร์ใดก็ตาม
    กลับสู่ด้านบน

    นา M- c o m m e r c e
    แนวโน้มในประเทศไทยระบบ เครือข่ายน่าจะถูกพัฒนาให้มีความเร็วสูงขึ้นอาจจะเข้าสู่
    ยุค 3 G G ได้ เมื่อมีเครือข่ายที่มีความเร็วสูงแล้ว เครื่องโทรศัพท์หรืออุปกรณ์พกพาที่ทันสมัยและมีความสามารถสูง เช่น โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ๆ Smart Phone และ Communicator ก็จะได้ใช้งานกันอย่างเต็มที่ด้วย ทำให้รับส่งได้ทั้งเสียง ข้อมูล ภาพ และวีดีโอ พร้อมกัน รวมไปถึงความสามารถของกล้องถ่ายรูป กล้องวีดีโอ และวิทยุ ที่อยู่ในตัวโทรศัพท์มือถือด้วย ด้านการบริการนั้นก็จะมีโปรแกรมที่ช่วยอำนวยความสะดวกมากขึ้น เช่น Location Based Application หรือ Mobile Service Location เป็นการให้บริการตามพื้นที่ที่คุณอยู่ในขณะนั้น หรือเป็นบริการที่เกี่ยวข้องกับเวลา ที่ต้องการทำในขณะนั้นทันที ในปลายปีนี้จะมีบริษัทมือถือเกิดขึ้นมาใหม่ซึ่งก็คือ บริษัท ซีพี Orange ซึ่งเกิดจากการร่วมมือกันระหว่างบริษัท เจริญโภคภัณฑ์ กับ บริษัท Orange SA ของสหราชอาณาจักร แต่อีกสาขาหนึ่งซีพีก็ก่อตั้งโครง Multi-access Portal หรือ MAP ซึ่งมีรายใหญ่ทางธุรกิจหลายรายเข้าร่วม ไม่ว่าจะเป็น UBC หรือ MWEB และตอนนี้มีข่าวว่า ซีพีได้ทำการเจรจากับเอ็นทีที โคโดโม เพื่อนำไอโหมดเข้ามาใช้ทดแทนกับระบบพีซีทีในอีกเร็วๆนี้ แบบไม่เป็นทางการและถ้าทำได้ก็จะรวมมือถือระบบใหม่ของพีซี Orange กับระบบโทรศัพท์ในเมืองอย่างพีซีทีและไอโหมดในอนาคตทำให้คุณสามารถสั่งซื้อของใน Seven-Eleven โดยที่ไม่ต้องเข้าไปในร้าน สินค้าที่สั่งอาจส่งถึงบ้านก่อนที่คุณจะเดินทางกลับไปถึง หรือ ว่าจะสั่งซื้อผ่านยูบีซีและเว็บไซต์ของ Mweb ผ่านโทรศัพท์มือถือ ส่วนทางด้าน DTAC ก็ได้ทำการเชื่อมโยงเอาระบบ Djuice ที่มีอยู่ต่อเข้ากับ “รักบ้านเกิด” ที่รับสินค้าจากจุดแข็ง ต่อเข้ากับสหกรณ์ชุมชนที่มีอยู่ทั่วประเทศ สร้างกระบวน การสั่งซื้อ-สั่งขายสินค้าผ่านระบบโทรศัพท์มือถือของ DTAC ส่วนทางด้าน AIS ก็ได้มีโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่
    นอกจากนั้น ก็อาจมีการนำระบบมาประยุกต์ใช้ร่วมกับระบบที่ใช้อยู่ภายในองค์กรมี
    ระบบที่เป็น m2m (Machine to Machine) ที่สามารถสั่งงานผ่านอุปกรณ์หรือเครื่องจักรที่เกี่ยวข้อง ทำงานเองตามเงื่อนไขของระบบที่ได้ตั้งไว้ ถ้ามีโอกาสได้ใช้เทคโนโลยี Bluetooth ร่วมด้วยก็จะทำให้มีบริการที่อุปกรณ์มือถือสามารถสื่อสารกับอุปกรณ์ชนิดอื่นๆ แบบไร้สายได้ด้วย สิ่งสำคัญที่จะทำให้บริการต่างๆ ประสบความสำเร็จ ขึ้นอยู่กับการบริการนั้นตรงความต้องการของผู้ใช้มากน้อยแค่ไหน ค่าบริการเหมาะสมและคุ้มค่าหรือไม่ อย่างไรก็ตามธุรกิจบนมือถือน่าจะมีแนวโน้มเติบโตได้อีกมากและจำนวนผู้ใช้มือถือก็น่าจะเพิ่มขึ้นมากกว่าจำนวนผู้ใช้เครื่อง PC หลายเท่า ตามที่ได้คาดการณ์ไว้
    กลับสู่ด้านบน

    ข้ ดี M- c o m m e rc e
    1.ความรวดเร็วฉับพลัน (Immediacy) ไม่ว่าผู้บริโภคจะกำลังทำกิจกรรมอะไร กำลังทำงานเดินทาง เข้าสังคม หรือ Chopping M-Commerce ก็ทำให้พวกเขาสามารถซื้อสินค้าหรือบริการต่างๆ ตามความต้องการได้ทันที ผ่านอุปกรณ์สื่อสารที่อยู่ในมือ
    2. ความสามารถในการเชื่อมต่อ (Connectivity) ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันด้วย SMS หรือ Chat ประโยชน์ข้อนี้ ทำให้นักโฆษณาสามารถนำไปใช้ในการ Promote สินค้าและให้ข้อเสนอพิเศษด้วยความคาดหมาย ได้ว่าผู้รับจะตอบกลับหรือเปิดอ่านข้อความที่ส่งมา
    3. การเข้าถึงผู้ใช้ที่เฉพาะเจาะจง (Localization) การใช้เทคโนโลยีที่สามารถระบุตำแหน่ง เช่น GPS (Global Positioning System) ทำให้บริษัทสามารถทราบข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้มือถือ เช่น ที่พักอาศัย ที่ทำงาน และสามารถเสนอสินค้าหรือบริการที่เฉพาะเจาะจง หรือเหมาะกับสถานที่ที่พวกเขาอยู่ได้
    4.ความสะดวกในการพกพาข้อมูล (Data portability) ผู้ใช้สามารถจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า ที่อยู่ บริษัทและข้อมูลเกี่ยวกับร้านอาหาร โรงแรม ธนาคาร รายละเอียดเกี่ยวกับบัตรเครดิตการ์ดและการใช้จ่ายเงินรวมถึง ข้อมูลการประกันและสามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้ตลอดเวลาที่ต้องการซื้อหรือทำการติดต่อ จากโทรศัพท์มือถือ
    กลับสู่ด้านบน

    ข้ สี M- c o m m e r c e
    1. ความยุ่งยากในการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์และการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลก็ยังอาจ เป็นอุปสรรคในการทำ M-Commerce ซึ่งจะต้องรอเทคโนโลยี 3G และการใช้อินเตอร์เน็ตผ่านมือถือที่สมบูรณ์แบบ
    2.การกำหนดทำธุรกรรมผ่าน M-Commerce และ M-Commerce เป็นไปได้ยาก ส่วนใหญ่ก็เป็น B2C ซึ่งมีการซื้อ-ขายเพียงจำนวนเล็กน้อย ในขณะที่ธุรกรรมขนาดใหญ่ยังคงเกิดขึ้นใน E-Commerce ต่อไป อย่างไรก็ตาม การเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วของโทรศัพท์มือถือทั่วโลก, การเติบโตของอินเตอร์เน็ต และการแพร่หลายของ PDAs จะทำให้ E-Commerce ขยายไปในวงกว้าง และมีผลกระทบทำให้ M-Commerce เบ่งบานตามไปด้วย
    เทคโนโลยีแต่ละชนิดถูกสร้างขึ้นเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ให้มีความสะดวก
    สบายและมีความรวดเร็วมากขึ้นเพื่อให้ทันกับยุคของการทำงานแข่งกันเวลาซึ่งเทคโนโลยีแต่ละอย่างก็มีวัตถุประสงค์ในการให้บริการที่แตกต่างกัน พร้อมทั้งยังมีเทคโนโลยีทางการสื่อสารที่ไร้ขอบเขตด้วยแล้วยิ่งช่วย อำนวยความสะดวกให้แก่ ผู้ใช้บริการมากขึ้น ซึ่งอยู่ที่ว่าผู้ใช้บริการของเทคโนโลยีนั้นๆ จะนำเทคโนโลยีแต่ละอย่างมาใช้อย่างถูกต้องตรงตาม วัตถุประสงค์ในการใช้งานที่ตนต้องการมากน้อยแค่ไหน
    กลับสู่ด้านบน

    รุ ที่ น่า
    ด้วยการเติบโตของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือและการพัฒนาเทคโนโลยีของอุปกรณ์ไร้สาย
    ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้งานและสร้างโอกาสในการทำธุรกรรมให้สามารถดำเนินการผ่านระบบออนไลน์ได้อย่างคล่องตัว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้น M-Commerce จึงเป็นการจัดการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์โดยผ่านโทรศัพท์มือถือที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตและทำธุรกรรมในทุกแห่งอย่างไร้ข้อจำกัด ทั้งทางด้านภูมิศาสตร์ หรือความสะดวกในการใช้งาน ส่งผลให้ M-Commerce เป็นทั้งนวัตกรรมทางเทคโนโลยี และเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จของธุรกิจในอนาคตด้วย ทั้งนี้ ความสำเร็จของ M-Commerce จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อได้รับการยอมรับจากผู้ประกอบธุรกิจ ผู้บริโภค และหน่วยธุรกิจที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่มีอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่องยังเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งในการกำหนดทิศทางการดำเนินธุรกิจในรูปแบบของ M-Commerce อีกด้วย ดังนั้น อัตราการเติบโตของธุรกิจ M-Commerce จึงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไป
    กลับสู่ด้านบน

    ก่อนหน้า
    ไม่มีบทความ
    ไม่มีบทความ